Sansevieria (ลิ้นแม่ยาย)

Sansevieria (ลิ้นแม่ยาย)

ลิ้นแม่ยาย

(ไม้กลางแจ้ง)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์
 :  
Sansevieria
ถิ่นกำเนิด
 :  
แอฟริกาใต้
วงษ์
 :  
ASPARAGACEAE
ลักษณะ
 :  
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีไหลใต้ดิน เป็นข้อปล้องสั้นๆ
ใบ
 :  
ใบแข็งหนาตั้งตรง รูปใบหอก บางครั้งบิดเล็กน้อยหรือบิดเป็นเกลียว ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ สีเขียวเข้มถึงเขียวอมเทา มีแถบสีเขียวอ่อนพาดขวางเป็นระยะตลอดความยาวใบ มักมีลวดลายอยู่ที่แผ่นใบ

   

การดูแลรักษา

ดิน
 :  
ดินร่วน ต้องการน้ำน้อย ทนแล้ง ชอบปานกลาง-แดดจัด
การขยายพันธุ์
 :  
ปักชำ แยกกอ
ประโยชน์
 :  
ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล

 

พืชสกุลนี้กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ อินเดีย และประเทศในแถบอินดีสตะวันออก โดยประเทศไทยถือเป็นแหล่งปลูกเลี้ยง รวบรวมสายพันธุ์ และผลิตลูกผสมที่มีศักยภาพแห่งหนึ่งของโลก ลิ้นแม่ยายเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ในธรรมชาติเติบโตในที่แห้งแล้งที่เป็นดินทราย แสงแดดร้อนแรง และมีอากาศหนาวเย็นตอนกลางคืน ดังนั้นใบจึงอวบหนา มีเส้นใยเหนียว ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ปัจจุบันสวนนงนุชได้รวบรวมไว้กว่า 267 สายพันธุ์

 

CONTENT NONGNUCH

RELATE CONTENT

สวนนงนุช