Anthurium (หน้าวัว)

Anthurium (หน้าวัว)

หน้าวัวใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์
 :  
Anthurium
ถิ่นกำเนิด
 :  
โคลัมเบียและประเทศแถบยุโรป
วงษ์
 :  
ARACEAE
ลักษณะ
 :  
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี กึ่งอิงอาศัย สูง 80-100 เซนติเมตร ต้นเดียวหรือแตกกอ ลำต้นสั้นหรือยืดยาวเกาะอาศัย
ใบ
 :  
ใบเดี่ยว ตั้งตรง เรียงเวียนสลับรอบต้น รูปหัวใจ รูปใบหอก รูปสามเหลี่ยม หรือเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ปลายติ่งแหลมอ่อน โคนรูปหัวใจ ขอบเป็นคลื่น ใบหนา เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบเห็นเส้นใบนูนเด่นชัด ก้านใบสีเขียว
ดอก
 :  
ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามซอกใบ ปลี เป็นส่วนแกนกลางที่มีดอกย่อยเรียงอยู่รวมกันเป็นแท่งทรงกระบอก ดอกสีเหลือง เมื่อดอกบานเปลี่ยนเป็นสีขาว กาบช่อดอกรูปร่างคล้ายแผ่นใบ มีหลายสี เช่น สีขาว สีส้ม สีชมพู สีแดง สีม่วง และสีเขียวหรือสีเขียวร่วมกับสีอื่น ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
 
การดูแลรักษา
 
ดิน
 :  
ดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดปานกลาง
การขยายพันธุ์
 :  
ตัดยอด แยกหน่อ ปักชำ เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ประโยชน์
 :  
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ตัดดอก

 

มีถิ่นกำเนิดแถบเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี แตกเป็นกอ ใบเดี่ยว มีหลายแบบ ทั้งรูปหัวใจรูปใบหอก รูปรี รูปไข่กลับ รูปสามเหลี่ยมหรือหยักเว้าเป็นแฉกคล้ายใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเวียนสลับรอบต้น แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน บางชนิดแผ่นใบแข็งหนาเหมือนแผ่นหนัง ดอกมีสีเขียว สีเขียวอมแดง หรือสีเขียวอมม่วง ดูไม่สะดุดตาเท่าไรนัก

CONTENT NONGNUCH

RELATE CONTENT

สวนนงนุช