โฮย่า

โฮย่า

โฮย่า “หัวใจทศกัณฐ์”


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Hoya lanceolate ssp. bella
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ:  Hoya 
วงศ์: Apocynaceae 
ถิ่นกำเนิด: เอเชีย อินเดีย จีน ไทย มาเลเซีย  อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โพลีเนเซีย นิวกีนี และ ออสเตรเลีย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  ปักชำ 

 

ลักษณะทั่วไป:

“โฮย่า”  เป็นสกุลของพืชในวงศ์นมตำเลีย (Asclepiadaceae) มี 200 -300 ชนิดในเขตร้อน ส่วนใหญ่จะเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย โฮย่า เรียกได้ว่าเป็นไม้เถาเลื้อยใบอวบน้ำทั้งใบและดอกและมีความสวยงาม   (ใบ) รูปคล้ายหัวใจ และทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม จึงมีชื่อไทยเรียกว่า “นมตำเลีย” แต่ละชนิดจะมีสไตล์ของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด  

โฮย่า จะโดดเด่นด้วย “ดอก เกสรและกลีบเลี้ยง”  ซึ่งตรงกลางของดอกมีส่วนที่เรียกว่า “มงกุฎ” สวยงามโดดเด่น ดอกคล้ายกลุ่มดาวห้าแฉก เปล่งแสงเป็นทรงครึ่งวงกลม บางชนิดมีดอกน้อย บางชนิดมีดอกเป็นช่อกลมเหมือนลูกบอล และมีบางพันธุ์มีกลิ่นหอมมาก หรือหอมน้อย หรือมีกลิ่นฉุนและเหม็น 

“ใบ” ของโฮย่ามีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามแหล่งกำเนิด เช่นรูปแท่งคล้ายดินสอ รูปกลม รูปไข่ รูปใบโพธิ์ รูปขนาน รูปหัวใจ รูปสี่เหลี่ยม แถบกว้างและแคบ บางชนิดมีใบหยาบมีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม
 
นิเวศวิทยา

เนื่องจากโฮย่าเป็นประเภทไม้เลื้อย เป็นเถาวัลย์ จะอาศัยเกาะยึดกับต้นไม้ใหญ่  จึงไม่ชอบน้ำและพื้นที่แฉะ หรือมีน้ำขัง เพราะต้นจะเน่าและตาย  โฮย่าชอบแสงแดดรำไร วัสดุปลูกจึงควรมีคุณสมบัติระบายน้ำ และอากาศดี อุ้มน้ำดี  ศัตรูของโฮย่า คือ เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว  จะเจาะดูดน้ำเลี้ยงตามปลายยอด และดอก 

“โฮย่า” พืชกลุ่มนี้มีความหลากหลายในเอเชีย และนักวิจัยจำนวนมากเดินทางมาเยี่ยมยังสวนนงนุชพัทยา เพื่อทำการวิจัยและให้การสนับสนุน จนกลายเป็นสวนที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้สวนนงนุชพัทยาได้ทำการเพาะปลูกโฮยา 1,093 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 1,500 ชนิดทั่วโลก

CONTENT NONGNUCH

RELATE CONTENT

สวนนงนุช